วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Subphylum Cephalochordata

เซฟาโลคอร์ดาตา (Cephalochordata)

เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่มีรูปร่างหัวท้ายแหลม ฝังตัวตามพื้นทรายในทะเล มีโนโตคอร์ดและไขสันหลังตลอดชีวิต ไม่มีสมอง ลำตัวเป็นปล้องชัดเจน กินอาหารโดยกรองจากน้ำ น้ำออกตามรูด้านหลังเรียกเอทริโอพอร์ (atriopore) มีอวัยวะสำคัญเรียกเอนโดสไตล์ (endostyle) ซึ่งสะสมไอโอดีนได้ มีหน้าที่สร้างเมือกเพื่อจับอาหารที่มากับน้ำ คาดว่าอวัยวะชนิดนี้วิวัฒนาการไปเป็นต่อมไทรอยด์ในสัตว์ชั้นสูง ตัวอย่างเช่น แอมฟิออกซัส (Amphioxus) ซึ่งเหลืออยู่เพียงสองสกุลคือ Branchiostoma และ Asymetron พบฟอสซิลของเซฟาโลคอร์ดาตา (Yunnanozoon) ทางภาคใต้ของจีนซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคแคมเบรียนตอนต้น จัดเป็นฟอสซิลที่เก่าที่สุดของสัตว์กลุ่มนี้
ลักษณะทั่วไป
สัตว์ในกลุ่มเซฟาโลคอร์ดาตาไม่มีกระดูกสันหลัง กะโหลกศีรษะและขากรรไกร แต่มีแกนสันหลังตลอดชีวิต ยาวตลอดตัวไม่มีครีบข้างลำตัวแต่มีครีบหลังยาวตลอดตัว ก้านครีบมีโครงสร้างเป็นเจลาติน ช่องเปิดของทวารหนักอยู่ที่ส่วนหน้าของครีบหาง และมีช่องน้ำออกเรียกเอทริโนพอร์ ที่ส่วนหน้าของครีบท้อง ปากอยู่ทางด้านล่างของหัว ขอบปากนูนเป็นสันเรียกวีลัม มีหนวดรอบๆปาก 12 เส้น มีกล้ามเนื้อเป็นปล้องๆเรียกไมโอโตม ช่วยในการเคลื่อนที่
สัตว์กลุ่มนี้กินอาหารด้วยการกรอง โดยหนวดจะโบกพัดน้ำเข้าปากแผงเหงือกจะกรองอาหารแล้วส่งไปย่อยที่ลำไส้ น้ำที่เข้าไปจะถูกขับออกทางช่องเอทริโนพอร์ กากอาหารถูกขับออกทางทวารหนัก หายใจด้วยเหงือกและขับปัสสาวะทางโพรโทเนฟริเดียมที่หน้าท้อง สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยปฏิสนธิภายนอก


สกุล Branchiostoma







Phylum Chordata

Phylum Chordata

เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ซึ่งรวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในตระกูลที่ใกล้ชิดอีกหลายชนิด สิ่งมีชีวิตสองชนิดนี้ เป็นหนึ่งเดียวกันในระยะการเจริญเติบโตบางช่วงของชีวิตแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และส่วนหางที่แข็งแรงขยายผ่านช่องทวารหนัก อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์บางคนให้เหตุผลว่า คุณสมบัติที่แท้จริงน่าจะเป็นถุงช่องที่ช่องคอหอย
Phylum chordata มี 3 Subphylum
   1. Subphylum Urochordata
   2. Subphylum Cephalochordata
   3. Subphylum Vertebrata

ยูโรคอร์ดาตา(Urochordata) 

มีชื่อสามัญว่า Tunicate เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่เป็นสัตว์น้ำเค็ม ไม่มีกะโหลกศีรษะ ไม่มีขากรรไกร มักแตกหน่อแล้วอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดอยู่โดดเดี่ยว มีการสร้างสารคลุมตัว เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส ที่เรียกว่าทูนิซินเพื่อให้คงรูปร่างอยู่ได้ ซีลอมไม่ชัดเจนเนื่องจากมีอวัยวะภายในบรรจุอยู่เต็ม ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบเปิด ไม่แยกเพศ ตัวอ่อนมีหางยาวใช้ว่ายน้ำ มีโนโตคอร์ดไขสันหลังบริเวณหาง เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยหางจะค่อยๆสลายไปจนไม่มีหาง เหลือโนโตคอร์ดและไขสันหลังบริเวณลำตัวเท่านั้น เช่น เพรียงลอย เพรียงสาย เพรียงหัวหอม

Botrylloides magnicoecum


Rhopalaea sp.




Clavelina robusta




Didemnum molle