วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Subphylum Vertebrata

เวอร์ทีบราตา (Vertebrata)


1. คลาสแอกนาตา ( Agnatha )
          คือปลาจำพวกหนึ่่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล
บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟิช




ปลาแลมป์เพรย์(Lamprey)





แฮคฟิช (Hagfish)






2. คลาสคอนดริคไทอิส ( Condrichthyes ) 


ด้เเก่ ปลากระดูกอ่อนต่างๆ เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ฯลฯ

ลักษณะสำคัญ
โครงสร้างเป็นกระดูกอ่อน มีแคลเซียมสะสมอยู่ ไม่มีเนื้อเยื่อของกระดูก
- กระดูกหัวไม่มีร่อง
- เหงือกมีเยื่อกั้น ทำให้มีช่องเปิดเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีกระดูกปิดเหงือก
- เพศผู้มีเดือยหนึ่งคู่ (แคลสเปอร์)
- ไม่มีกระเพาะลม จึงมีตับขนาดใหญ่มาแทนที่เพื่อช่วยในการพยุงตัวให้ลอย
- มีทวารร่วม ซึ่งเป็นช่องเปิดร่วมของทวารและช่องสืบพันธุ์

- ลำไส้สั้น มีลักษณะเป็นบันไดเวียนหรือแบบม้วนเสื่อ
- มีทั้งครีบเดี่ยวเเละครีบคู่ ( ครีบอกเเละครีบตะโพก )
- ผิวหนังคล้ายกระดาษทราย

- บางจำพวกมีสไปราเคิล (ท่อน้ำออก)
- มีการปฏิสนธิภายในร่างกายเเละส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว (เป็นไข่แต่ได้พัฒนาเป็นตัวในท้อง)

- กินสัตว์ทั้งสัตว์น้ำและแพลงก์ตอนเป็นอาหารทั้งหมด



ปลาฉนาก



ปลาฉลาม



ปลากระเบน




3. คลาสออสติอิคไทอิส (Osteicthyes)



ได้เเก่ ปลากระดูกเเข็งต่างๆ รวมทั้งปลามีปอด ปลาตีน ปลานกกระจอก  เหาฉลาม เเละม้าน้ำ

ลักษณะสำคัญ

โครงกระดูก เกิดจากการสะสมของเซลล์กระดูก
- มีเเผ่นเเข็งปิดเหงือก ( operculum ) ทำให้มองไม่เห็นช่องเหงือก

- ไม่มีทวารร่วม มีช่องเปิดของทวาร และช่องสืบพันธุ์แยกกัน
- มีครีบคู่ 2 คู่ ( ครีบอกเเละครีบตะโพก )

- ครีบมีก้านครีบ อาจเป็นก้านครีบแข็งหรือก้านครีบอ่อน
- มีกระเพาะลมช่วยการลอยตัว
- ปฏิสนธิภายนอกร่างกายเเละส่วนมากออกลูกเป็นไข่

- กินทั้งสัตว์และพืช


ปลาตีน





ปลานกกระจอก



4. คลาสเเอมฟิเบีย ( Amphibia )



ได้เเก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่างๆเช่น กบ คางคก เขียด งูดิน กะท่าง ซาลามานเดอร์ ( จิ้งจกน้ำ ) 

ลักษณะสำคัญ

- วางไข่ในน้ำ ไข่มีวุ้นหุ้ม
- ปฏิสนธินอกร่างกาย
- ตัวอ่อนดำรวชีวิตในน้ำ เเละหายใจทางเหงือก
- มีเมเเทมอโฟซิสเป็นตัวเต็มวัยที่ดำรงชีวิต
- บนบกหายใจด้วยปอดเเละผิวหนังที่เปียกชื้น
- เป็นสัตว์เลือดเย็น
- มี 4 ขา
- หัวใจ 3 ห้อง
- เส้นประสาทสมอง 10 คู่
- มีกล่องเสียง

-ไม่มีเกล็ดปกคลุม

          กบ อึ่งอ่าง คางคก มีขาหลังที่แข็งแรงสามารถกระโดดได้ไกล นอกจากนี้กบยังสามารถเปลี่ยนสีที่ผิวหนังเพื่อการพรางตัวและอึ่งอ่างสามารถปล่อยสารเมือกจากต่อมที่ใต้ผิวหนัง ทำให้มีความสามารถในการหลบหลีกอันตรายจากผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ได้ดี



กบ





งูดิน



salamander





กะท่าง


5. คลาสเรปทีเลีย ( Reptilia )

 สัตว์เลื้อยคลาน (อังกฤษ: Reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดกระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว
ในยุคจูแรคสิค (Jurassic period) ที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิค (Mesozoic era) ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุดมีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรคสิคจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรคสิค เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ เช่น งู เต่า จระเข้ กิ้งก่า เป็นต้น

ลักษณะสำคัญ
- ปฏิสนธิภายในร่างกาย                                                   
- วางไข่บนบก ไข่ขนาดใหญ่ มีเปลือกเเข็งเหนียวหุ้ม
- เป็นสัตว์เลือดเย็น 
                                                         
- ผิวหนังเเห้งมีเกล็ดปกคลุม
- หายใจทางปอด

- หัวใจ 3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้มี 4 ห้อง )
- มีขา 2 คู่  
                     
- มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่     
- เป็นสัตว์พวกเเรกที่มีถุงน้ำคร่ำ

งู




เต่า




จระเข้





6. คลาสเอวีส ( Aves )


ได้เเก่ พวกนกต่างๆ รวมทั้งเป็ด ไก่ ห่าน หงส์ ฯลฯ
นกที่ใกล้สูญพันธุ์ นกเเต้วเเร้วท้องดำ เเร้ง นกเงือก นกที่สูญพันธุ์ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร


ลักษณะสำคัญ
- ปฏิสนธิภายในร่างกา
- เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกเเรกที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น
- มีขนลักษณะเป็นเเผง ( feather )
- ขา 1 คู่ ปีก 1 คู่ ( เปลี่ยนเเปลงมาจากขาหน้า )
- หายใจด้วยปอดมีถุงลมหลายถุงติดต่อกับปอดทำหน้าที่เก็บอากาศหายใจ เเละระบายความร้อน
- กระดูกกลวง
- ออกลูกเป็นไข่ที่มีเปลือกหุ้ม ไข่เเดงมีปริมาณมาก
- หัวใจ 4 ห้อง
- มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่




หงส์



ไก่



นกยูง






เป็ด


 
7. คลาสเเมมมาเลีย ( Mammalia )


ลักษณะสำคัญ
- เป็นสัตว์เลือดอุ่น
- ตัวเมียมีต่อมน้ำนม ผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน
- มีขนเป็นเส้นๆ ( hair )
- เม็ดเลือดเเดงไม่มีนิวเคลียส
- มีต่อมเหงือก
- มีกล่องเสียงเเละสายเสียง
- หัวใจ 4 ห้อง
- หายใจด้วยปอดมีกระบังลม ( diphragm )
- สมองขนาดใหญ่มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่

ได้เเก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเเบ่งเป็น 3 พวกคือ

พวกที่ออกลูกเป็นไข่ ( monotremes ) ได้เเก่ ตุ่นปากเป็ดเเละตัวกินมดคล้ายเม่น
- ออกลูกเป็นไข่
- ไม่มีมดลูก ไม่มีรก 




ตุ่นปากเป็ด



ตัวกินมดคล้ายเม่น


พวกมีถุงหน้าท้อง ( marsupials ) ได้เเก่ จิงโจ้ หมีโคอะลา โอปอสซัม ฯลฯ
- ออกลูกเป็นตัวขนาดเล็ก ลูกอ่อนอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องจนโต 
- มีมดลูก 
- ไม่มีรก 



จิงโจ้


 
หมีโคอาล่า



โอปอสซัม


พวกที่มีรก ได้เเก่ แมว หมา คน ฯลฯ
- ออกลูกเป็นตัวขนาดใหญ่
- มีมดลูก
- มีรก เป็นกลุ่มเส้นเลือดที่ติดต่อระหว่างเเม่กับลูก ลูกจะได้รับอาหารเเละก๊าซเเละขับถ่ายของเสียผ่านทางรก


แมว
รูป 10 ??????????????????????????????




สุนัข

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Subphylum Cephalochordata

เซฟาโลคอร์ดาตา (Cephalochordata)

เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่มีรูปร่างหัวท้ายแหลม ฝังตัวตามพื้นทรายในทะเล มีโนโตคอร์ดและไขสันหลังตลอดชีวิต ไม่มีสมอง ลำตัวเป็นปล้องชัดเจน กินอาหารโดยกรองจากน้ำ น้ำออกตามรูด้านหลังเรียกเอทริโอพอร์ (atriopore) มีอวัยวะสำคัญเรียกเอนโดสไตล์ (endostyle) ซึ่งสะสมไอโอดีนได้ มีหน้าที่สร้างเมือกเพื่อจับอาหารที่มากับน้ำ คาดว่าอวัยวะชนิดนี้วิวัฒนาการไปเป็นต่อมไทรอยด์ในสัตว์ชั้นสูง ตัวอย่างเช่น แอมฟิออกซัส (Amphioxus) ซึ่งเหลืออยู่เพียงสองสกุลคือ Branchiostoma และ Asymetron พบฟอสซิลของเซฟาโลคอร์ดาตา (Yunnanozoon) ทางภาคใต้ของจีนซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคแคมเบรียนตอนต้น จัดเป็นฟอสซิลที่เก่าที่สุดของสัตว์กลุ่มนี้
ลักษณะทั่วไป
สัตว์ในกลุ่มเซฟาโลคอร์ดาตาไม่มีกระดูกสันหลัง กะโหลกศีรษะและขากรรไกร แต่มีแกนสันหลังตลอดชีวิต ยาวตลอดตัวไม่มีครีบข้างลำตัวแต่มีครีบหลังยาวตลอดตัว ก้านครีบมีโครงสร้างเป็นเจลาติน ช่องเปิดของทวารหนักอยู่ที่ส่วนหน้าของครีบหาง และมีช่องน้ำออกเรียกเอทริโนพอร์ ที่ส่วนหน้าของครีบท้อง ปากอยู่ทางด้านล่างของหัว ขอบปากนูนเป็นสันเรียกวีลัม มีหนวดรอบๆปาก 12 เส้น มีกล้ามเนื้อเป็นปล้องๆเรียกไมโอโตม ช่วยในการเคลื่อนที่
สัตว์กลุ่มนี้กินอาหารด้วยการกรอง โดยหนวดจะโบกพัดน้ำเข้าปากแผงเหงือกจะกรองอาหารแล้วส่งไปย่อยที่ลำไส้ น้ำที่เข้าไปจะถูกขับออกทางช่องเอทริโนพอร์ กากอาหารถูกขับออกทางทวารหนัก หายใจด้วยเหงือกและขับปัสสาวะทางโพรโทเนฟริเดียมที่หน้าท้อง สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยปฏิสนธิภายนอก


สกุล Branchiostoma







Phylum Chordata

Phylum Chordata

เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ซึ่งรวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในตระกูลที่ใกล้ชิดอีกหลายชนิด สิ่งมีชีวิตสองชนิดนี้ เป็นหนึ่งเดียวกันในระยะการเจริญเติบโตบางช่วงของชีวิตแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และส่วนหางที่แข็งแรงขยายผ่านช่องทวารหนัก อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์บางคนให้เหตุผลว่า คุณสมบัติที่แท้จริงน่าจะเป็นถุงช่องที่ช่องคอหอย
Phylum chordata มี 3 Subphylum
   1. Subphylum Urochordata
   2. Subphylum Cephalochordata
   3. Subphylum Vertebrata

ยูโรคอร์ดาตา(Urochordata) 

มีชื่อสามัญว่า Tunicate เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่เป็นสัตว์น้ำเค็ม ไม่มีกะโหลกศีรษะ ไม่มีขากรรไกร มักแตกหน่อแล้วอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดอยู่โดดเดี่ยว มีการสร้างสารคลุมตัว เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส ที่เรียกว่าทูนิซินเพื่อให้คงรูปร่างอยู่ได้ ซีลอมไม่ชัดเจนเนื่องจากมีอวัยวะภายในบรรจุอยู่เต็ม ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบเปิด ไม่แยกเพศ ตัวอ่อนมีหางยาวใช้ว่ายน้ำ มีโนโตคอร์ดไขสันหลังบริเวณหาง เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยหางจะค่อยๆสลายไปจนไม่มีหาง เหลือโนโตคอร์ดและไขสันหลังบริเวณลำตัวเท่านั้น เช่น เพรียงลอย เพรียงสาย เพรียงหัวหอม

Botrylloides magnicoecum


Rhopalaea sp.




Clavelina robusta




Didemnum molle