วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Subphylum Vertebrata

เวอร์ทีบราตา (Vertebrata)


1. คลาสแอกนาตา ( Agnatha )
          คือปลาจำพวกหนึ่่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล
บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟิช




ปลาแลมป์เพรย์(Lamprey)





แฮคฟิช (Hagfish)






2. คลาสคอนดริคไทอิส ( Condrichthyes ) 


ด้เเก่ ปลากระดูกอ่อนต่างๆ เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ฯลฯ

ลักษณะสำคัญ
โครงสร้างเป็นกระดูกอ่อน มีแคลเซียมสะสมอยู่ ไม่มีเนื้อเยื่อของกระดูก
- กระดูกหัวไม่มีร่อง
- เหงือกมีเยื่อกั้น ทำให้มีช่องเปิดเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีกระดูกปิดเหงือก
- เพศผู้มีเดือยหนึ่งคู่ (แคลสเปอร์)
- ไม่มีกระเพาะลม จึงมีตับขนาดใหญ่มาแทนที่เพื่อช่วยในการพยุงตัวให้ลอย
- มีทวารร่วม ซึ่งเป็นช่องเปิดร่วมของทวารและช่องสืบพันธุ์

- ลำไส้สั้น มีลักษณะเป็นบันไดเวียนหรือแบบม้วนเสื่อ
- มีทั้งครีบเดี่ยวเเละครีบคู่ ( ครีบอกเเละครีบตะโพก )
- ผิวหนังคล้ายกระดาษทราย

- บางจำพวกมีสไปราเคิล (ท่อน้ำออก)
- มีการปฏิสนธิภายในร่างกายเเละส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว (เป็นไข่แต่ได้พัฒนาเป็นตัวในท้อง)

- กินสัตว์ทั้งสัตว์น้ำและแพลงก์ตอนเป็นอาหารทั้งหมด



ปลาฉนาก



ปลาฉลาม



ปลากระเบน




3. คลาสออสติอิคไทอิส (Osteicthyes)



ได้เเก่ ปลากระดูกเเข็งต่างๆ รวมทั้งปลามีปอด ปลาตีน ปลานกกระจอก  เหาฉลาม เเละม้าน้ำ

ลักษณะสำคัญ

โครงกระดูก เกิดจากการสะสมของเซลล์กระดูก
- มีเเผ่นเเข็งปิดเหงือก ( operculum ) ทำให้มองไม่เห็นช่องเหงือก

- ไม่มีทวารร่วม มีช่องเปิดของทวาร และช่องสืบพันธุ์แยกกัน
- มีครีบคู่ 2 คู่ ( ครีบอกเเละครีบตะโพก )

- ครีบมีก้านครีบ อาจเป็นก้านครีบแข็งหรือก้านครีบอ่อน
- มีกระเพาะลมช่วยการลอยตัว
- ปฏิสนธิภายนอกร่างกายเเละส่วนมากออกลูกเป็นไข่

- กินทั้งสัตว์และพืช


ปลาตีน





ปลานกกระจอก



4. คลาสเเอมฟิเบีย ( Amphibia )



ได้เเก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่างๆเช่น กบ คางคก เขียด งูดิน กะท่าง ซาลามานเดอร์ ( จิ้งจกน้ำ ) 

ลักษณะสำคัญ

- วางไข่ในน้ำ ไข่มีวุ้นหุ้ม
- ปฏิสนธินอกร่างกาย
- ตัวอ่อนดำรวชีวิตในน้ำ เเละหายใจทางเหงือก
- มีเมเเทมอโฟซิสเป็นตัวเต็มวัยที่ดำรงชีวิต
- บนบกหายใจด้วยปอดเเละผิวหนังที่เปียกชื้น
- เป็นสัตว์เลือดเย็น
- มี 4 ขา
- หัวใจ 3 ห้อง
- เส้นประสาทสมอง 10 คู่
- มีกล่องเสียง

-ไม่มีเกล็ดปกคลุม

          กบ อึ่งอ่าง คางคก มีขาหลังที่แข็งแรงสามารถกระโดดได้ไกล นอกจากนี้กบยังสามารถเปลี่ยนสีที่ผิวหนังเพื่อการพรางตัวและอึ่งอ่างสามารถปล่อยสารเมือกจากต่อมที่ใต้ผิวหนัง ทำให้มีความสามารถในการหลบหลีกอันตรายจากผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ได้ดี



กบ





งูดิน



salamander





กะท่าง


5. คลาสเรปทีเลีย ( Reptilia )

 สัตว์เลื้อยคลาน (อังกฤษ: Reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดกระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว
ในยุคจูแรคสิค (Jurassic period) ที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิค (Mesozoic era) ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุดมีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรคสิคจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรคสิค เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ เช่น งู เต่า จระเข้ กิ้งก่า เป็นต้น

ลักษณะสำคัญ
- ปฏิสนธิภายในร่างกาย                                                   
- วางไข่บนบก ไข่ขนาดใหญ่ มีเปลือกเเข็งเหนียวหุ้ม
- เป็นสัตว์เลือดเย็น 
                                                         
- ผิวหนังเเห้งมีเกล็ดปกคลุม
- หายใจทางปอด

- หัวใจ 3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้มี 4 ห้อง )
- มีขา 2 คู่  
                     
- มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่     
- เป็นสัตว์พวกเเรกที่มีถุงน้ำคร่ำ

งู




เต่า




จระเข้





6. คลาสเอวีส ( Aves )


ได้เเก่ พวกนกต่างๆ รวมทั้งเป็ด ไก่ ห่าน หงส์ ฯลฯ
นกที่ใกล้สูญพันธุ์ นกเเต้วเเร้วท้องดำ เเร้ง นกเงือก นกที่สูญพันธุ์ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร


ลักษณะสำคัญ
- ปฏิสนธิภายในร่างกา
- เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกเเรกที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น
- มีขนลักษณะเป็นเเผง ( feather )
- ขา 1 คู่ ปีก 1 คู่ ( เปลี่ยนเเปลงมาจากขาหน้า )
- หายใจด้วยปอดมีถุงลมหลายถุงติดต่อกับปอดทำหน้าที่เก็บอากาศหายใจ เเละระบายความร้อน
- กระดูกกลวง
- ออกลูกเป็นไข่ที่มีเปลือกหุ้ม ไข่เเดงมีปริมาณมาก
- หัวใจ 4 ห้อง
- มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่




หงส์



ไก่



นกยูง






เป็ด


 
7. คลาสเเมมมาเลีย ( Mammalia )


ลักษณะสำคัญ
- เป็นสัตว์เลือดอุ่น
- ตัวเมียมีต่อมน้ำนม ผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน
- มีขนเป็นเส้นๆ ( hair )
- เม็ดเลือดเเดงไม่มีนิวเคลียส
- มีต่อมเหงือก
- มีกล่องเสียงเเละสายเสียง
- หัวใจ 4 ห้อง
- หายใจด้วยปอดมีกระบังลม ( diphragm )
- สมองขนาดใหญ่มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่

ได้เเก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเเบ่งเป็น 3 พวกคือ

พวกที่ออกลูกเป็นไข่ ( monotremes ) ได้เเก่ ตุ่นปากเป็ดเเละตัวกินมดคล้ายเม่น
- ออกลูกเป็นไข่
- ไม่มีมดลูก ไม่มีรก 




ตุ่นปากเป็ด



ตัวกินมดคล้ายเม่น


พวกมีถุงหน้าท้อง ( marsupials ) ได้เเก่ จิงโจ้ หมีโคอะลา โอปอสซัม ฯลฯ
- ออกลูกเป็นตัวขนาดเล็ก ลูกอ่อนอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องจนโต 
- มีมดลูก 
- ไม่มีรก 



จิงโจ้


 
หมีโคอาล่า



โอปอสซัม


พวกที่มีรก ได้เเก่ แมว หมา คน ฯลฯ
- ออกลูกเป็นตัวขนาดใหญ่
- มีมดลูก
- มีรก เป็นกลุ่มเส้นเลือดที่ติดต่อระหว่างเเม่กับลูก ลูกจะได้รับอาหารเเละก๊าซเเละขับถ่ายของเสียผ่านทางรก


แมว
รูป 10 ??????????????????????????????




สุนัข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น